วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ชนิดของผีเสื้อ



 ชนิดของผีเสื้อ
         
           1. วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Family Papilionidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้ส่วนมากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายปีกคู่หลังจะมีส่วนยื่นยาวออกมา คล้ายหางหรือติ่ง แต่บางชนิดก็ไม่มี ปกติเพศผู้ชอบลงกินอาหาร และน้ำ ตามพื้นดิน หรือทรายที่ชื้นแฉะซึ่งมีมูลสัตว์หรือ ปัสสาวะปะปน ส่วนเพศเมียมักหากิน ตามยอดไม้ใน ระดับสูง ผีเสื้อวงศ์นี้พบชุกชมมากในประเทศเขตร้อน
                    
                     2.วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ (Family Pieridae) ผีเสื้อในวงศ์นี้ ถ้าแบ่งตามสีจะมี 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่มีปีกสีเหลือง และสีขาว มักพบลงกินอาหารตามพื้นดินทราย พร้อม ๆ กันเป็นกลุ่มใหญ่ พบมากใน ประเทศเขตร้อน
                     
                     3. วงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก (Family Danaidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้เป็นชนิดที่มีพิษในตัว โดยได้รับพิษจากพืชอาหารที่ตัวหนอนกินเข้าไป บางครั้งอาจเรียกผีเสื้อวงศ์นี้ว่า ผีเสื้อลายเสือ ตามลักษณะสีสันของตัวหนอน และผีเสื้อบางชนิดที่มี ลายคล้ายลายเสือ ตัวหนอนกินพืชจำพวก ที่มียางสีขาว หรือยางใสเหนียวเป็นอาหาร เช่น มะเดื่อ รัก เพศผู้ มีแถบสีเข้มกลางปีกคู่หลัง เพศเมีย จะไม่มีแถบสีที่กลาง ปีกคู่หลัง จึงสามารถใช้แถบเป็นที่ สังเกตบอกเพศได้

                     4. วงศ์ผีเสื้อสีตาล (Family Satyridae) ผีเสื้อในวงศ์นี้ส่วนมากมีสีน้ำตาลเข้ม และมีจุดคล้ายดวงตาบนแผ่นปีก มักพบหากินในที่ร่ม เงาไม้ พบชุกชุมในเขตอบอุ่น ทั่วโลก เชื่อว่ามีแหล่ง กำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา

                     5. วงศ์ผีเสื้อป่า (Family Amathusiidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและหากินตามบริเวณที่เป็นร่มทึบ พบได้ในทวีปเอเชีย จนถึงออสเตเรีย ในการสำรวจ ครั้งนี้พบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น

                     6. วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Family Nymphalidae) ผีเสื้อวงศ์นี้พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยจะมีขาคู่หน้าที่หดสั้นลงจนดูคล้ายกระจุกพู่ขน ไม่สามารถใช้เกาะ หรือเดินได้ ทำให้มองเห็นเพียง 4 ขาเท่านั้น ตัวหนอนของผีเสื้อวงศ์นี้มีขนแหลมๆอยู่ทั่วตัว ผีเสื้อตัวเต็มวัยชอบออก หากินในที่โล่ง มีแสงแดดจัด

                     7. วงศ์ผีเสื้อหัวแหลม (Family Libytheidae) ผีเสื้อวงศ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัวมี ระยางค์ปาก (labial palps) ยื่นแหลมออกมาคล้าย มีหัวแหลม ปลายปีก คู่หน้าโค้งออก ตัดเป็นรูปมุมฉาก บางครั้งก็เรียกว่า ผีเสื้อจมูกแหลม ในประเทศไทย พบเพียง 4 ชนิด เท่านั้น

                     8. วงศ์ผีเสื้อปีกกึ่งหุบ (Family Riodinidae) ผีเสื้อวงศ์นี้จะมีขาคู่หน้าของเพศผู้ ที่มีลักษณะ คล้ายกับผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ คือ ส่วนปลายขาเสื่อมหายไป เหลือเพียงโคนขา และเพศเมียมีขาครบ ส่วนมากผีเสื้อปีกกึ่งหุบ เวลาที่เกาะกับ พื้นดินมักจะ กางปีก ออกเป็นรูปตัว V ในการสำรวจครั้งนี้พบจำนวน 3 ชนิด

                      9. วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Family Lycaenidae) ผีเสื้อวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก บางชนิด มีขนาดปีกกว้างไม่ถึง 15 มิลลิเมตร ปีกด้านบน มีสีฟ้าหรือน้ำเงินอมม่วง ในระยะตัวหนอนจะกิน พืชตระกูลถั่วเป็นอาหาร

                      10. วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Family Hesperiidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้มีส่วนคล้ายกับผีเสื้อกลางคืน คือ มีปีกสั้น ลำตัวค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบ กับขนาดปีก ส่วนใหญ่ปีกมี สีน้ำตาลเข้ม แต่เนื่องจาก ผีเสื้อในวงศ์นี้ มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างผีเสื้อ กลางวันและผีเสื้อกลางคืน นักอนุกรมวิธาน บางท่าน จึงจัดผีเสื้อบินเร็วอยู่ในกลุ่มต่างหาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น